ข้อมูลภาพจาก : http://paperstreetsupplies.com/art-and-artists/narkissos-the-influential-collage-art-of-jess-collins/ collage art by Jess Collins

Masterpieces of Collage Art by Are Mokkelbost featured”
บรรยากาศการทำงาน Collage ของศิลปินในสตูดิโอ
Collage Art ศิลปะของการตัดแปะ ( อ่านซ่ะ...อย่าให้เคือง )
Collage เป็นศิลปะของการตัดแปะ ซึ่งก็จะใช้ส่วนของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือเศษผ้า กระดาษ รูปภาพ ฯลฯ ติดทั้งหมดลงไปบนกระดาษหรือผ้าใบและยังอาจผสมกับเทคนิคอื่นๆของการเขียน ภาพเช่น skatch หรือ painting ลักษณะงาน Collage มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 200 ปี แต่เพิ่งมาเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 19 โดยรู้จักกันในรูปแบบของศิลปะสมัยใหม่(Modern Art) เทคนิค Collage นี้มีหลักฐานและที่มาย้อนไปตั้งแต่เริ่มมีการใช้กระดาษที่ประเทศจีนและ ญี่ปุ่น มีการใช้การตัดกระดาษและแปะลงไปในชิ้นงานด้วยกาวแล้วเขียนบทกวีลงไป ส่วนในยุโรปก็มีการใช้เทคนิคนี้ในการตกแต่งโบสถ์โกธิค โดยใช้โลหะที่มีค่าแปะลงไปในชิ้นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
หลักการจัดภาพ(Composition)
การนำเอาส่วนประกอบมูลฐานต่างๆ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว บริเวณว่าง แสงเงาและสี มาจัดเข้าด้วยกันได้อย่างเหมาะสมตามโครงสร้างของการสร้างสรรค์งานศิลปะ ได้แก่
ความสมดุล (Balance) หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ
ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน
ความพอเหมาะพอดีของ ส่วนต่าง ๆ ในรูปทรหนึ่ง
ดุลยภาพในงานศิลปะ มี 2 ลักษณะ
ดุลยภาพในงานศิลปะ มี 2 ลักษณะ
1.
ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน
คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล
2. ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจากการจัดใหม่ ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้
2. ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจากการจัดใหม่ ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้
ความกลมกลืน (Harmony) ความ กลมกลืนเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้รูปแบบมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ตลอดจนเนื้อหาสาระมีเพียงหนึ่งเดียว ความกลมกลืนในการออกแบบมีดังนี้
ก.
ความกลมกลืนของเส้นและรูปร่าง
ข. ความกลมกลืนของขนาดและทิศทาง ค. ความกลมกลืนกันของสีและบริเวณว่าง ง.
ความกลมกลืนกันของความคิดและจุดมุ่งหมาย ฉ. ความกลมกลืนกันของลักษณะผิวและจังหวะ
ควาแตกต่าง (Contrast) การจัดองค์ประกอบต่างๆ ให้ความแตกต่าง
หรือมีความขัดแย้ง ไม่ประสานกัน จะช่วยแก้ปัญหาจืดชืด จำเจ น่าเบื่อ ในการสร้างสรรค์ศิลปะ
หากจัดองค์ประกอบให้เกิดการขัดแย้งตามความเหมาะสม จะช่วยให้งานศิลปะดูแปลกใหม่
แปลกตา น่าสนใจมากยิ่งขึ้น การขัดแย้งทางศิลปะอาจทำได้ ดังนี้
- ขัดแย้งกันด้วยเส้น (Line Contrast)
- ขัดแย้งด้วยรูปร่าง, รูปทรง (Shape, Form Contrast)
- ขัดแย้งกันด้วยสี (Color Contrast)
- ขัดแย้งกันด้วยลักษณะผิว (Texture Contrast)
- ขัดแย้งกันด้วยขนาด (Size Contrast)
- ขัดแย้งกันด้วยทิศทาง (Direction Contrast)
- ขัดแย้งกันด้วยเส้น (Line Contrast)
- ขัดแย้งด้วยรูปร่าง, รูปทรง (Shape, Form Contrast)
- ขัดแย้งกันด้วยสี (Color Contrast)
- ขัดแย้งกันด้วยลักษณะผิว (Texture Contrast)
- ขัดแย้งกันด้วยขนาด (Size Contrast)
- ขัดแย้งกันด้วยทิศทาง (Direction Contrast)
สัดส่วน
(Proportion) สัดส่วนของรูปร่าง คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างความกว้าง ความยาง และความหนาหรือความลึก ขนาดและสัดส่วนนับว่ามีความสัมพันธ์กับความงามและประโยชน์ใช้สอย ลักษณะของสัดส่วนที่ดีและมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของตัวมันเองดี
และมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ด้วย เช่น เก้าอี้หากออกแบบให้มีสัดส่วนที่ดี
และมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของมนุษย์ที่นั่งก็จะรู้สึกสะดวกสบาย ไม่ทำให้เสียบุคลิกภาพและสุขภาพ
จังหวะและเคลื่อนไหว (Rhythm &
Movement) จังหวะลีลา หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันขององค์ประกอบเป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ
จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้น
จนถึงขั้นเกิดเป็นรูปลักษณะของศิลปะ โดยเกิดจาก การซ้ำของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟ
หรือเกิดจาก การเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้ำหนัก
การเน้น
(Emphasis) หมายถึง
การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา ในงานศิลปะจะต้องมี ส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือจุดใดจุดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น ๆ เป็นประธานอยู่ ซึ่งจะทำให้ผลงานมีความงามสมบูรณ์ ลงตัว
และน่าสนใจมากขึ้น การเน้นจุดสนใจสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1. การเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast)
2. การเน้นด้วยการด้วยการอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation)
3. การเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement)
สิ่งที่นิสิตต้องจัดเตรียม
คิดเรื่องที่จะนำมาทำงาน /
สะเก็ตช์แบบคร่าวๆ
หาภาพจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ (ใช้ได้ทั้งภาพสีและขาวดำ)
ตัดภาพเตรียมมาปฎิบัติในชั่วโมง (บางส่วน)
อุปกรณ์ : นิสิตเตรียม
หนังสือ นิตยสาร สิ่งพิมพ์ ฯลฯ / คัตเตอร์ / กรรไกร / แผ่นรองตัด หรือกระดาษแข็งหนา
/ ความตั้งใจ ตรงเวลา
และความรับผิดชอบที่ดี
อุปกรณ์ : ที่อาจารย์เตรียมให้
plate ให้ขนาด 30X40 Cm + กาว + แรงกดดัน
......................................................................................................................................................................................
Assignment # 2 : Collage art
ขณะกำลังปฎิบัติงาน Collage ในห้องเรียน
ผลงาน Collage เทคนิค : กระดาษตัดแปะ + Computer Graphic
[001] แนน จารุตา [ การใช้เส้นที่ไร้ระเบียบ ทำให้งานดูมีเสน่ย์ขึ้นจากการจัดวางแนวนอน ที่มีอยู่ทั่วไปของงาน
ภาพส่วนล่างดูแปลกแยกไปจากงานโดยรวม ]

[002] นน นนธิชา [ การวางโครงสี,จุดสนใจ,จังหวะ,และรายละเอียดทำให้งานชิ้นนี้น่าสนใจ ]
[003] กิด กฤษฎิ์ [ จุดสนใจของภาพอาจจะดูไม่เด่นชัดนัก เส้นที่ดูเคลื่อนไหวและการตัดรูปร่างที่แข็งกระด้าง ทำให้งาน
ดูแตกต่างไปจากงานชิ้นอื่นๆ ]
[004] อิง สิริกาญจน์ [ สีสวย มีเส้ีนที่นำสายตาเข้าไปสู่กลางภาพ แต่ภาพส่วนใหญ่ ยังกระจัดกระจายทั่วทั้งภาพ
ทำให้ขาดจุดที่อยากจะเน้นไปหน่อย ]
[005] โม ธิชญานันท์ [ เป็นอีกชิ้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ดูแตกต่างไปจากชิ้นอื่นๆ นอกจากรูปยังใช้ลูกเล่นของคำ
และสไตล์ของรูปแบบมาสร้างความน่าสนใจ อาจจะต้องดูเรื่องการลำดับความสำคัญอีกหน่อย ]
[006] รุ้ง กานต์สิรี [ ปัญหาแรกคือการต่อเชื่อมภาพยังไม่เนียน ดูอัดแน่นไปทุกจุด ขาดพื้นที่หายใจ ]
[007] หม้อ เมวิณี [ สัดส่วน จังหวะ การเน้นน่าสนใจ เงาตรงพื้นทำให้ดูมีมิติ เสริมจุดเน้นได้ดี ]
[008] ต้น อภิสิทธิ์ [ เป็นอีกชิ้นที่มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากกลุ่ม ใช้การจัดวางแบบสมมาตร ดูเรื่องสัดส่วนของแต่ละชิ้น
ภาพด้วย แสงฟุ่งที่รองด้านหลัง หากใช้มากเกินไปอาจจะทำให้บรรยากาศงาน]fน้อยลงได้ ]
[009] หวาน ศุภรัตน์ [งานอาจจะดูทดลองและจัดวางน้อยไปหน่อย แต่โดนโหวดเลือกเยอะ ดูไม่ค่อยท้าทายนัก แต่ส่วนอาจจะทำหน้าที่ของมันได้ ความแน่นและวุ่นวายตรงส่วนล่าง ทำให้งานมีจุดเด่น ]
[010] อ้อย พรพิมล [ งานดูเครียดๆตึงๆไปนิด ทั้งเรื่องการจัดวาง ทิศทาง และสัดส่วน โดยเฉพาะรายละเอียดเล็กๆ
ที่โปรยไปกับพื้นหลัง จมกลายเป็นพื้นผิวไปหน่อย ลักษณะของพื้นผิวหลากหลายน่าสนใจ
ไม่แน่ใจว่าคิดเองไปรึเปล่า! อ.ว่าตัวการ์ตูน กับ Font ด้านหน้าดูไม่เข้ากับ Mood โดยรวม ]
[011] นุ๊ก สมใจ
[012] บี อุมาพร
......................................................................................................................................................................................
Assignment # 2 : Collage art
ขณะกำลังปฎิบัติงาน Collage ในห้องเรียน
ผลงาน Collage เทคนิค : กระดาษตัดแปะ + Computer Graphic
[001] แนน จารุตา [ การใช้เส้นที่ไร้ระเบียบ ทำให้งานดูมีเสน่ย์ขึ้นจากการจัดวางแนวนอน ที่มีอยู่ทั่วไปของงาน
ภาพส่วนล่างดูแปลกแยกไปจากงานโดยรวม ]

[002] นน นนธิชา [ การวางโครงสี,จุดสนใจ,จังหวะ,และรายละเอียดทำให้งานชิ้นนี้น่าสนใจ ]
[003] กิด กฤษฎิ์ [ จุดสนใจของภาพอาจจะดูไม่เด่นชัดนัก เส้นที่ดูเคลื่อนไหวและการตัดรูปร่างที่แข็งกระด้าง ทำให้งาน
ดูแตกต่างไปจากงานชิ้นอื่นๆ ]
[004] อิง สิริกาญจน์ [ สีสวย มีเส้ีนที่นำสายตาเข้าไปสู่กลางภาพ แต่ภาพส่วนใหญ่ ยังกระจัดกระจายทั่วทั้งภาพ
ทำให้ขาดจุดที่อยากจะเน้นไปหน่อย ]
[005] โม ธิชญานันท์ [ เป็นอีกชิ้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ดูแตกต่างไปจากชิ้นอื่นๆ นอกจากรูปยังใช้ลูกเล่นของคำ
และสไตล์ของรูปแบบมาสร้างความน่าสนใจ อาจจะต้องดูเรื่องการลำดับความสำคัญอีกหน่อย ]
[006] รุ้ง กานต์สิรี [ ปัญหาแรกคือการต่อเชื่อมภาพยังไม่เนียน ดูอัดแน่นไปทุกจุด ขาดพื้นที่หายใจ ]
[007] หม้อ เมวิณี [ สัดส่วน จังหวะ การเน้นน่าสนใจ เงาตรงพื้นทำให้ดูมีมิติ เสริมจุดเน้นได้ดี ]
[008] ต้น อภิสิทธิ์ [ เป็นอีกชิ้นที่มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากกลุ่ม ใช้การจัดวางแบบสมมาตร ดูเรื่องสัดส่วนของแต่ละชิ้น
ภาพด้วย แสงฟุ่งที่รองด้านหลัง หากใช้มากเกินไปอาจจะทำให้บรรยากาศงาน]fน้อยลงได้ ]
[009] หวาน ศุภรัตน์ [งานอาจจะดูทดลองและจัดวางน้อยไปหน่อย แต่โดนโหวดเลือกเยอะ ดูไม่ค่อยท้าทายนัก แต่ส่วนอาจจะทำหน้าที่ของมันได้ ความแน่นและวุ่นวายตรงส่วนล่าง ทำให้งานมีจุดเด่น ]
[010] อ้อย พรพิมล [ งานดูเครียดๆตึงๆไปนิด ทั้งเรื่องการจัดวาง ทิศทาง และสัดส่วน โดยเฉพาะรายละเอียดเล็กๆ
ที่โปรยไปกับพื้นหลัง จมกลายเป็นพื้นผิวไปหน่อย ลักษณะของพื้นผิวหลากหลายน่าสนใจ
ไม่แน่ใจว่าคิดเองไปรึเปล่า! อ.ว่าตัวการ์ตูน กับ Font ด้านหน้าดูไม่เข้ากับ Mood โดยรวม ]
[011] นุ๊ก สมใจ
[012] บี อุมาพร
10 ความคิดเห็น:
นักเรียนๆ..ให้นักเรียนทุกคนในเอก
แสดงความคิดเห็นส่วนตัว
ในการวิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานเพื่อนๆในห้อง
นักเรียนคิดว่า..ผลงานของใครในห้องที่ "โดน"ที่สุด
พร้อมชั้แจงเหตุผลประกอบ ตามความรู้สึกส่วนตัว
และตามหลักการออกแบบ ( แสดงความคิดเห็นให้เสร็จ
ก่อนเรียนครั้งต่อไป )
จากผู้บัญชาการสูงสุด
โดยส่านตัวแล้วผมชอบงานของกิตครับ ผมคิดว่ามันลงตัวด้วยสี การจัดวาง และที่ผมชอบที่สุดเลยก็คือความแตกต่างของงานครับ มีความโดดเด่นไม่เหมือนไคร
...............ต้น........
ชอบงานของสิริกาญจน์ ด้วยสีสันอารมณ์ของภาพ หรือ รูปที่นำมาทำนั้นดูไปในทางเดียวกัน ดูแล้วสนุก มันส์ สีสันดูดึงดูดความสนใจได้ดี
.................หวาน...................
ชอบงานของ นน คะมีการจัดองค์ประกอบที่เข้ากันมีจุดเด่นตรงหน้ากาก และด้วยสีที่ไปในโทนที่ใกล้เคียงกันมีความลงตัวในการจัดวางดี
ส่วนตัวชอบงานของสิริกาญจน์ การนำเส้น รูปร่าง รูปทรง
พื้นผิวที่หลายหลาย การนำบริเวณว่างให้เป็นจุดเด่น
แสงเงาและสีสันที่ลงตัว งานมีความกลมกลืนแต่ไม่น่าเบื่อ
เพราะมีความขัดแย้งของสีคู่ตรงข้าม งานมีการจัดวางดี
ไม่มากและไม่น้อยเกินไป โดยรวมงามลงตัวดี
{{'นนธิยา สิงห์อ่อน 54060113'}}
ชอบงานของ กานต์สิรี ดูแล้วสื่อถึงตัวตนที่ชอบงานด้านแฟร์ชั่น ชอบที่ใช้สีสันสวยสะดุดตามีการนำรูปหน้าตาของนายแบบและนางแบบมาเรียงกัน(มุมด้านล่างซ้ายมือ) แต่ดูไม่เข้ากันตรงแถบสีดำที่ออกมาจากปากการ์ตูนและหน้าของผู้หญิงทางซ้ายมือจะเด่นเกินไป
(ธิชญานันท์ สุจริตธรรม 54060351)
ชอบงาน นน ธิยาค่ะ สีเหมือนจะเข้ากันแต่ก็มีสีที่ตัดกัน
งานที่ทั้งใช้มือ และคอมพิวเตอร์ แต่ดูเหมือนกับใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมด สวยงามจริงๆ ^^
mewinee ข้านบนหนูเองค่ะ
โดยส่วนตัวชอบงานของ นนธิยาค่ะ โดยการใช้สีและการจัดวางที่ลงตัว ทำให้งานออกมามีจุดเด่นที่สวยงามมากค่ะ
ส่วนตัวชอบงาน ของอภิสิทธ์ มีความเป็นตัวเอง
มีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเองรูปแบบการนำเอาโปรแกรมอื่นประยุกต์ด้วยคับ
กิด
แสดงความคิดเห็น